วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

พิกาจู

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติปิกาจู


พิกะจู (ญี่ปุ่นPikachu ピカチュウ ?) เป็นสายพันธุ์ของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในวิดีโอเกม รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การ์ดเกม และหนังสือการ์ตูน เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิกะจูออกแบบโดยอะสึโกะ นิชิดะ และตรวจทานโดยเคน ซุงิโมะริ พิกะจูปรากฏครั้งแรกในเกมเกมโปเกมอนเรดและกรีน และต่อมาปรากฏในเกมโปเกมอน เรดและบลู ซึ่งเป็นเกมแรกในชุดโปเกมอนที่วางจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเครื่องเกมบอยรุ่นแรก
มนุษย์จับและฝึกฝนพิกะจูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิกะจูเป็นตัวละครหลักในอะนิเมะเรื่องโปเกมอน พิกะจูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และตุ๊กตาสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมา

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศรีเทพเมืองเก่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศรีเทพเมืองเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกล่าวว่า เหตุที่พ่อขุนผาเมืองไม่สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของสุโขทัย เนื่องจากพระองค์มีพระมเหสีเป็นธิดาของกษัตริย์ขอม คือพระนางสิงขรมหาเทวี พระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ประสงค์จะให้ราชอาณาจักรสุโขทัยสืบเชื้อสายเลือดไทยแท้จริง ซึ่งหากใครอยากกราบไหว้พ่อขุนผาเมือง ต้องมาที่ “อนุสรณ์สถานเมืองราด” ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก
       
       ประวัติศาสตร์ของเมืองเพชรบูรณ์นั้นเก่าแก่ไม่แพ้ที่ใด โดยเฉพาะ “เมืองศรีเทพ” ที่ปัจจุบันคือ “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ” นั้น มีความเก่าแก่นับพันปี โบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า "เมืองอภัยสาลี" สร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต นักท่องเที่ยวควรเข้าไปชมภายในส่วนจัดนิทรรศการของอุทยานฯ เพื่อทราบถึงที่มาและภาพกว้างๆ ก่อนจะไปชมโบราณสถานต่างๆ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศรีเทพเมืองเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ปราสาทพนมรุ้ง

Prasat-Phanom-Rung-1
ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร
ปราสาทพนมรุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่นเป็นอย่างดี ดังได้มีนิทานพี้นบ้านเรื่อง “อินทรปรัสถา” กล่าวถึงคู่พระคู่นางซัดเซพเนจรไปจนพบที่พักพิงซึ่งเป็นปราสาทหินอันงดงามรกร้างอยู่ท่ามกลางป่าเขา แต่สำหรับบุคคลภายนอกต่างบ้านต่างเมืองนั้น ปราสาทแห่งนี้รู้จักกันครั้งแรกตามที่มีเอกสารที่มีการกล่าวถึงปราสาทพนมรุ้งเป็นครั้งแรกคือ บันทึก ของนายเอเตียน เอมอนิเยร์ (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตีพิมพ์เป็นบทความใน พ.ศ. 2445
ปี พ.ศ. 2449 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาที่ปราสาทพนมรุ้ง คราวเสด็จมณฑลอีสาทและเสด็จอีกครั้งในปี พ.ศ. 2472 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
และปี พ.ศ. 2503-2504 ได้ดำเนินการสำราจปราสาทพนมรุ้งอีกครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้เริ่มดำเนินการบูรณะปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis คือ การนำชิ้นส่วนของปราสาทกลับเข้าสู่ตำแหน่างเดิม) เปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน
ชื่อของปราสาทพนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิมของโบราณสถานแห่งนี้ คำว่า พนมรุ้งปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ที่พบที่ปราสาทแห่งนี้จารึกพนมรุ้ง หลักที่ 2 หลักที่ 4 และ K10900 จารึกว่า พนมรุ้งเป็นชื่อเทวสถาน ที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีที่ดิน หมู่บ้าน เมือง
ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้น การที่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดีผ
อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันหมดในคราวเดียว ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการนับถือศาสนาของชุมชน ขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณ หรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง
ปราสาทพนมรุ้ง คงมีความสำคัญสืบต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) พระองค์นับถือศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับพระราชบิดา (พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ) นอกจากจะมีพระราชโองการให้สร้างจารึกเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระราชบิดาแล้วยังทรงถวายที่ดินให้กับเทวสถานใน สมัยนี้เอง เทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยรอบอย่างแท้จริง ข้อความในจารึกพนมรุ้ง บางหลักแม้จะมีเนื้อความขาดหายแต่ก็ให้ภาพ รวมได้ว่าเทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้าวขวางมีที่ดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าวรมันที่ 5 ) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถานพร้อมกับมีพระราชโองการ ให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานพนมรุ้งพร้องกับการสร้างเมือง สร้างอาศรมให้กับโยคี และนักพรตด้วย
ในราวพุทะศตวรรษที่ 17 ได้มีการก่อสร้างปราสาทประธานขึ้น จากการศึกษาศิลาจารึกพนมรุ้ง หลักที่ 7 และหลักที่ 9 กล่าวได้ว่าปราสาทประธานสร้างขึ้นในสมัยเรนทราทิตย

วัดผาซ่อนแก้ว

จดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้วเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และวัดพระธาตุผาซ่อนแก้วเป็นที่ปฏิบัติภาวนาของพุทธบริษัท โปรดเยี่ยมชมและถวายสักการะด้วยความเคารพและสงบนอบน้อม โปรดรักษาความสงบ ให้คงอยู่เดิม เหมือนก่อนที่ท่านมา ขอขอบพระคุณในความร่วมมือ และ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง
web-slide-pha2

หลวงพ่อโต

หลวงพ่อโตวัดสะตือ(ก่อนเริ่มบูรณะ)
        เมื่ออสุรินทราหู ไปเข้าเฝ้าสำคัญตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู อสุรินทราหูต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ
       
       พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์ดูมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
       
       และนี่ก็คือที่มาของพระนอน “ปางโปรดอสุรินทราหู” เมื่อรู้ประวัติความเป็นมาแล้ว เราก็ไปเริ่มประเดิมรับบุญกันที่ “วัดสะตือ” อ.ท่าเรือ ที่วัดแห่งนี้ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต”พระนอนองค์ใหญ่กลางแจ้ง สร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในปี พ.ศ. 2413 เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนยาว 52 เมตร สูง 16 เมตร ผู้คนนิยมมาบนบานศาลกล่าวในเรื่องของโชคลาภ แคล้วคลาดจากสิ่งชั่วร้าย เมื่อสำเร็จดังประสงค์แล้วมักจะมาแก้บนด้วยขนมจีน เพราะเชื่อกันว่าในที่สร้างพระนอนองค์นี้ มักจะทำขนมจีนเลี้ยงบรรดาคนงาน นอกจากนี้ยังนิยมแก้บนด้วยขบวนแตรวงแห่ไปรอบองค์พระอีกด้วย 
ไหว้พระนอน 9 วัดอยุธยา รับเข้าพรรษาเสริมสิริมงคล

เมืองเก่าสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) เขตโบราณสถานที่ประกอบไปด้วยพระราชวัง วัด ศาสนสถานต่างๆ คูน้ำและกำแพงเมืองเก่า โบราณสถานสำคัญๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัยที่น่าสนใจได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กำแพงเมืองสุโขทัย วัดมหาธาตุ วัดชนะสงคราม วัดตระพังเงิน วัดสระศรี วัดศรีสวาย ศาลตาผาแดง แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) วัดพระพายหลวง วัดศรีชุม วัดช้างรอบ วัดสะพานหิน เขื่อนสรีดภงค์ (ทำนบพระร่วง) วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง และวัดตระพังทองหลาง